บทที่ 1 ความรู้เบื้องตนเกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัฒกรรมการศึกษา
.............เทคโนโลยีการศึกษา ..หมายถึง กระบวนการหรือวิธีการในการนำความรู้เรื่องแนวคิดมาประยุกต์องค์ประกอบหรือองค์ความรู้ต่างๆ มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อให้การดำเนินงานในวงการต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพลักษณะของเทคโนโลยี สามารถจำแนกออกได้ 3 ลักษณะ
1. เทคโนโลยีในลักษณะกระบวนการ (process) เป็นการใช้วิทยาศาสตร์และความรู้ต่างๆที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่ผลในการปฏิบัติ
2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุหรืออุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้การะบวนการทางเทคโนโลยี
3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) เช่น เทคโนโลยีช่วยให้ระบบการรับส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เป็นผลมาจากความก้าวหน้าของอุปกรณ์เพื่อการรับส่งข้อมูล
หลักการใช้เทคโนโลยี
1. ประสิทธิภาพของงาน (efficiency) เทคโนโลยีต้องช่วยให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายและรวดเร็ว สามารถตรวจสอบได้
2. ประสิทธิผล (productivity) ต้องช่วยให้การทำงานได้ผลออกมาอย่างเต็มที่
3. ประหยัด (economy) ทั้งเวลาและแรงงาน ลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าทุน
เทคโนโลยีกับงานสาขาต่างๆทางการทหาร หมายถึง กระบวนการ วิธีการนำเอาความรู้ แนวคิด หรือผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้การดำเนินงานทางการทหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ทางการแพทย์ หมายถึง กระบวนการ วิธีการนำเอาความรู้ แนวคิด หรือผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ มาประยุกต์ใช้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้การดำเนินงานทางการแพทย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้สหวิทยาอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้แนวคิด เครื่องมือ เทคนิคและวิธีกาต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามจุดมุ่งหมาย
ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา
1. สามารถทำให้มีการเรียนการสอน การศึกษามีความหมายมากขึ้น ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น เรียนได้เร็วขึ้น เข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ครูมีเวลาให้แก่นักเรียนมากขึ้น
2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบ
3. สามารถทำให้การจัดการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีทางวิทยาศาสตร์ ค้นพบวิธีใหม่ๆ และสมเหตุสมผลตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม
4. ช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น
5. ทำให้การเรียนรู้อยู่แค่เอื้อม
6. ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา
พระราชบัญญัติเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปแบบอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบมาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนจัดให้มีแบบเรียน ตำรา วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นอย่างเร่งรัด พัฒนาขีดความสามารถในการผลิต มีเงินสนับสนุน เปิดให้มีการแข่งขันโดยเสรีภาพและเป็นธรรม
มาตรา 65 ให้มีการพัฒนาบุคลากรและผู้ใช้เทคโนโลยี เพื่อให้มีความรู้ความสามารถและทักษะการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาการผลิตและเทคโนโลยี รวมทั้งการติดตาม การตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อให้เกิดการใช้อย่างคุ้มค่า เหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
มาตรา 68 ให้มีการระดมทุนเพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
มาตรา 69 รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลาง ทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบายแผนส่งเสริมและประสานการวิจัยการพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิต และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีการสอนเทคโนโลยีการสอน คือ ภาพของการแสวงหาแนวทางและวิธีปฏิบัติ เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทัศนะเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาและเทคโนโลยีการสอน1. ทางวิทยาศาสตร์กายภาพ มุ่งเน้นวัสดุอุปกรณ์ หรือผลผลิตทางวิศวกรรมเป็นสำคัญ2. ทางพฤติกรรมศาสตร์ มุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมเป็นสำคัญ
นวัตกรรม
...หมายถึง ความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ที่นำมาใช้ในการแก่ปัญหาหรือปรับปรุงงานให้ได้ผลดียิ่งขึ้นนวัตกรรมการศึกษา หมายถึง ความคิดหรือวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่ได้ผ่านการพิสูจน์ ทดลอง จนเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ นำมาใช้ส่งเสริม ปรับปรุงระบบทางการศึกษาให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นนวัตกรรม
1. เป็นความคิดหรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อจะนำมาปรับปรุงงานเดิมให้ดีขึ้น
2. ความคิดหรือการกระทำนั้นมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยทดลอง นำมาใช้แล้วสามารถแก้ปัญหาได้
3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจน
4. ความคิดหรือการกระทำใหม่ๆขั้นตอนการเกิดนวัตกรรมการนำวิธีการใหม่ๆมาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลอง หรือได้รับการพัฒนาการเป็นขั้นๆแล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้นและการพัฒนา ซึ่งอาจเป็นไปในรูปแบบของโครงการทดลองปฏิบัติมาก่อนแล้ว จึงนำมาปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมนวัตกรรมและเทคโนโลยีมีความหมายอย่างเดียวกันคือ ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ขอบเขตของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
1. หน้าที่ในการจัดการศึกษา มีจุดมุ่งหมายที่จะชี้แนวทางและพัฒนาการศึกษาและการสอนให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. หน้าที่ในการพัฒนาการศึกษา เป็นการวิเคราะห์ คิดหาวิธีแก้ปัญหา การวิจัย การออกแบบ ให้แก่แหล่งการเรียนทั้งหลาย
3. แหล่งการเรียน ที่จะนำมาทำให้การเรียนรู้ง่ายขึ้น ได้ผลตามจุดหมายของการเรียน
4. ผู้เรียน ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนได้พัฒนาไปสู่การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
สาเหตุที่นำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษา
1. การเพิ่มจำนวนประชากร มีผลทำให้การดำเนินชีวิตของมนุษย์และสังคมเกิดปัญหา ดังนั้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ จะช่วยให้การศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็วและทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพ
2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ จะช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้รับการศึกษาตลอดชีวิตสะดวกขึ้น
3. ความก้าวหน้าทางวิทยาการใหม่ๆ การศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงทั้งโครงสร้างและองค์ประกอบหลัก ได้แก่ หลักสูตร เนื้อหา วิธีสอน ให้เหมาะสมกับเครื่องมือหรือวิธีการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาต่อการเรียนการสอน
1. ช่วยให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางและเข้าใจถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น
2. สนองตอบเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
3. ทำให้การจัดการศึกษามีคุณภาพสูงขึ้น
4. มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
5. ทำให้กระบวนการเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะการเรียนรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านจิตพิสัยและทักษะพิสัยไปด้วย6. ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรมากขึ้น
แนวคิดในการใช้เทคโนโลยีการศึกษากับการศึกษาไทย
1. คนไทยส่วนใหญ่ไม่นับถือตนเอง ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้พูดและแสดงความคิดเห็นจึงคอยเชื่อฟังคนอื่น เมื่อนานเข้าทำให้ขาดความนับถือคนเอง
2. คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ในอดีตหลักสูตรเนื้อหาไม่เอื้อต่อผู้เรียน จึงทำให้ผู้เรียนขาดการชื่นชมธรรมชาติแวดล้อมตนเอง การจัดการศึกษาส่งเสริมให้เขาได้เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมดียิ่งขึ้น
บทที่ 2 วิธีระบบ
วิธีระบบ....เป็นวิธีการรวมหน่วยย่อยๆ ซึ่งเป็นอิสระจากกันให้มีความสัมพันธ์กัน โดยการจัดระเบียบอย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ความสำคัญของวิธีระบบวิธีระบบกลายเป็นแกนแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษาทางพฤติกรรมศาสตร์ และกลายเป็นคำหลักของเทคโนโลยีการศึกษา การฝึกอบรมและการให้การศึกษา เน้นไปที่ผู้ออกแบบและจัดโปรแกรมควบคู่ไปกับการผลิตช่างเทคนิค เพื่อให้ได้นักเทคโนโลยีการศึกษาที่มองภาพการใช้เทคโนโลยีการศึกษาที่มีระบบและมองภาพกว้างขวางขึ้นองค์ประกอบของระบบ
1. ข้อมูลป้อนเข้า(input) ได้แก่ วัตถุดิบ ข้อมูลดิบ ปัญหาความต้องการวัตถุประสงค์ ข้อกำหนดกฎเกณฑ์
2. กระบวนการ(process) ได้แก่ วิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน
3. ผลลัพธ์ (output) ได้แก่ ผลงานที่ได้จากการป้อนข้อมูลและกระบวนการเพื่อที่จะนำไปประเมินผล
4. ข้อมูลย้อนกลับ(feedback) ผลการประเมินการทำงานของระบบ ซึ่งประเมินย้อนกลับได้ทุกขั้นตอนขั้นตอนการจัดระบบ1. ขั้นวิเคราะห์ระบบ(system analysis) แบ่งออกเป็น 4 หน่วยย่อย1.1 วิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติ เป็นการพิจารณาทิศทางที่จะดำเนินการและจุดมุ่งหมายของระบบ เพื่อบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
1.2 วิเคราะห์หน้าที่ เป็นการกำหนดหน้าที่โดยละเอียดตามที่กำหนดไว้
1.3 วิเคราะห์งาน เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการกระทำตามหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้1.4 วิเคราะห์วิธีการและสื่อ เป็นการกำหนดหลักการปฏิบัติที่นำไปสู่จุดมุ่งหมาย
2. ขั้นการสังเคราะห์ระบบ (system synthesis)
2.1 เลือกวิธีหรือกลวิธีเพื่อกาทางไปสู่จุดมุ่งหมาย ทดสอบกลวิธีเพื่อปรับปรุงวิธีการให้เหมาะสมกับการดำเนินงาน
2.2 การแก้ปัญหา เมื่อได้วิธีแล้วก็ใช้กลวิธีนั้น ดำเนินการแก้ปัญหา
2.3 การประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน เพื่อหาประสิทธิภาพของผลลัพธ์ที่ได้
3. ขั้นการสร้างแบบจำลอง
3.1 แบบจำลองแนวนอนข้อมูลกระบวนการผลลัพธ์ผลย้อนกลับ
3.2 แบบจำลองแนวตั้งผลย้อนกลับผลลัพธ์กระบวนการข้อมูล
3.3 แบบจำลองแนวนอนผสมแนวตั้งข้อมูล 1ข้อมูล 2ข้อมูล 3กระบวนการ 1กระบวนการ 2กระบวนการ 3ผลลัพธ์ผลย้อนกลับ
3.4 แบบจำลองแบบวงกลมหรือวงรีกระบวนการผลย้อนกลับข้อมูลผลลัพธ์3.5 แบบจำลองกึ่งแผนภูมิกึ่งรูปภาพสาระสื่อต่างๆครูผู้ปกครองชุมชนกระบวนการการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ3.6 แบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์หรือคอมพิวเตอร์กรอบ 1กรอบ 2กรอบ 3กรอบ 4กรอบ 3 ขกรอบ 3 กกรอบ 1 คกรอบ 1 ขกรอบ 1 ก4. ขั้นตอนการจำลองสถานการณ์เป็นการทดลองใช้ระบบตามแบบจำลองที่สร้างขึ้นในสภาพการณ์เลียนแบบสถานการณ์จริง เพื่อปรับปรุงหรือแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ระบบก่อนนำไปใช้จริง เนื่องจากถ้านำไปใช้ในสถานการณ์จริง อาจทำให้สิ้นเปลืองเวลา แรงงานและเงิน หรืออาจเสี่ยงต่ออันตรายวิธีระบบกับสื่อการเรียนการสอน1. การผลิตสื่อ เป็นขั้นตอนการสร้างสรรค์วัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการให้มีคุณภาพดี ใช้งานได้เหมาะสมกับเนื้อหา วัตถุประสงค์ และลักษณะธรรมชาติของผู้เรียนข้อมูลที่ป้อนเข้ากระบวนการผลลัพธ์ข้อมูลย้อนกลับ-ปัญหาความจำเป็น -ออกแบบ -สื่อกี่สอนที่ต้องการ-ข้อมูลของผู้เรียน -วางแผนในการผลิต -ทดสอบประสิทธิภาพ-แนวคิดในการผลิต -รวบรวมวัตถุดิบ -ประเมินผล-ทรัพยากรในการผลิต -ดำเนินการผลิต -ปรับปรุงแก้ไข-วัตถุประสงค์ -เทคนิคเฉพาะทาง -เนื้อหา -ทดสอบ/ทดลอง-เวลาและงบประมาณ -ตกแต่งปรับปรุงข้อมูลย้อนกลับผลลัพธ์กระบวนการข้อมูลที่ป้อนเข้า2. การใช้สื่อ เป็นขั้นตอนการแสดงสื่อในขณะทำการสอนให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเลือกข้อมูล การใช่สื่อตามแผนที่วางไว้ การเรียนรู้ที่ต้องการ-เนื้อหา -ใช้ในเวลาที่เหมาะสม -สังเกตความสนใจของผู้เรียน-จุดมุ่งหมาย -ใช้อย่างคล่องแคล่ว -ประเมินผลและติดตามผล-ลักษณะผู้เรียน -ใช้อย่างมั่นใจแน่นอน -การปรับปรุงแก้ไข-รูปแบบการเรียน -ใช้อย่างต่อเนื่อง -ประเภทสื่อการสอน -ถ้าเป็นสื่อประเภทกิจกรรมต้องให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม-สภาพแวดล้อม -เมื่อใช้แล้วเก็บให้เรียบร้อยทันที-ความพร้อม-ครูผู้สอน-ผู้เรียน-สื่อการสอนข้อมูลย้อนกลับ3. การเก็บรักษาสื่อ การเก็บรักษาสื่ออย่างเป็นระบบ จะช่วยให้การค้นหาหรือหยิบมาใช้ได้สะดวกรวดเร็วตรวจสอบได้ง่าย ประหยัดเวลาข้อมูลที่ป้อนเข้ากระบวนการผลลัพธ์-สื่อการเรียนการสอนที่เก็บรักษาอย่างเป็นระบบระเบียบอยู่ในสภาพดี สามารถนำไปใช้งานได้อย่างเป็นระบบระเบียบ-ปัญหา-การวางแผนในการเก็บรักษา-วัสดุ/อุปกรณ์-การจำแนกประเภทของสื่อ-ทรัพยากร -การเตรียมที่เก็บรักษา เช่น ตู้ ลิ้นชัก-บุคคล ผู้ใช้ ผู้เก็บรักษา-การทำทะเบียนสื่อ-ระยะเวลา-การดำเนินการเก็บรักษาสื่อ-แรงงาน-การให้บริการ-งบประมาณ-การเก็บรักษาตามที่จำแนกได้-สถานที่รูปแบบจำลองการผลิตและการใช้สื่อแบบ The Assure Model1. วิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน ผู้เรียนแต่ละคนมีความสามารถในการรับรู้และการเรียนรู้แตกต่างกัน การเลือกเนื้อหาบทเรียนและสื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับลักษณะของผู้เรียน จะช่วยกระตุ้นความสนใจและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น เช่น ผู้เรียนมีทักษะในการอ่านต่ำควรใช้ประเภทรูปภาพ ภาพวิดีทัศน์ ไม่ควรเน้นสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ2. การกำหนดวัตถุประสงค์ (state objective) เป็นความต้องการที่ตั้งไว้ เพื่อเรียนรู้หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการใช้สื่อการเรียนการสอน เนื้อหาบทเรียนควรครอบคลุมการเรียนรู้ด้านต่างๆ ต่อไปนี้2.1 ด้านความรู้ความเข้าใจ การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การตัดสิน และการประเมินผล2.2 ด้านจิตใจ การกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึกของผู้เรียน เช่น ความชอบ ความซาบซึ้ง การเห็นคุณค่า2.3 ด้านทักษะหรือความชำนาญ กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ทั้งทางด้านการใช้สมองและความรู้สึกอย่างคล่องแคล่ว3. การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อ3.1 การเลือก การเลือกสื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน3.2 การดัดแปลง การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหา วิธีสอน และลักษณะของผู้เรียน3.3 การผลิต การผลิตสื่อการเรียนการสอนให้ได้ผลดีมีปัจจัยต่างๆ เช่น ลักษณะของเนื้อหาบทเรียน จุดมุ่งหมายของบทเรียน ลักษณะของผู้เรียน ค่าใช้จ่าย ความชำนาญด้านเทคนิคเฉพาะ เวลา ความพร้อมของอุปกรณ์ที่ใช่ในการผลิต4. การใช้สื่อ (utilize materials) เป็นขั้นตอนการแสดงสื่อประกอบการเรียนการสอนจริง ใช้สื่อตามแผนที่เตรียมไว้ ขณะใช้สื่อต้องหันหน้าเข้าหาผู้เรียนเสมอ ใช้สื่ออย่างต่อเนื่องและคล่องแคล่ว5. การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน (require learner response) กระบวนการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดี ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนตอบสนองต่อสื่อและเนื้อหาบทเรียน เช่น ก่อนให้ผู้เรียนชมภาพยนตร์ ครูผู้สอนควรเล่าเค้าโครงเรื่องอย่างย่อและกำหนดปัญหาเพื่อการตอบสนองของผู้เรียนเป็นช่วงๆ หรืออาจให้ผู้เรียนชมภาพยนตร์จนจบแล้วอภิปรายในภายหลังก็ได้6. การประเมิน (evaluation)6.1 การประเมินกระบวนการสอน เพื่อให้ทราบว่าการใช้สื่อการเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด6.2 การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้ทราบว่าการใช้สื่อการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนเรียนรู้มากน้อยเพียงใด6.3 การประเมินสื่อและวิธีการสอน ควรพิจารณาเกี่ยวกับคุณภาพของสื่อ ได้แก่ ความคล่องตัว ความแข็งแรง และประสิทธิภาพในการใช้งานที่สามารถดึงดูดความสนใจ และทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้เป็นอย่างดี
บทที่ 3 กระบวนการสือสาร
การสื่อสาร... หมายถึง กระบวนการติดต่อส่งข่าวสาร ข้อเท็จจริง ความเห็นตลอดจนท่าทีความรู้สึกต่างๆระหว่างบุคคล เจตคติ ทักษะจากผู้ส่งไปยังผู้รับด้วยการใช้ถ้อยคำ กริยา ท่าทาง หรือสัญลักษณ์ ทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกันองค์ประกอบและกระบวนการสื่อสาร1. ผู้ส่ง แหล่งกำเนิดเนื้อหาสาระ ซึ่งอาจเป็นองค์กร บุคคลที่มีจุดมุ่งหมายจะส่งเนื้อหาสาระไปยังผู้รับ2. เนื้อหาสาระ เจตคติ ทักษะประสบการณ์ ซึ่งจะส่งผ่านสื่อไปยังผู้รับ3. สื่อหรือช่องทาง ช่องทางต่างๆ ที่ใช้ในการส่งและรับรู้เนื้อหาสาระ ได้แก่ ตา หู ลิ้น จมูก และผิวกาย โดยอาศัยสื่อที่เหมาะสมกับช่องทาง เช่น รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส4. ผู้รับ บุคคล องค์กร หรือหน่วยงานที่รับรู้เนื้อหาสาระจากแหล่งกำเนิดหรือผู้ส่งหน้าที่ของกระบวนการสื่อสาร1.การสื่อสารในฐานะเครื่องมือให้ได้สิ่งที่ต้องการ2. .การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์3. .การสื่อสารส่วนบุคคล4. .การสื่อสารเพื่อเสาะแสวงหาคำตอบ5. .การสื่อสารเพื่อสร้างจินตนาการรูปแบบของการสื่อสาร1. การจำแนกตามคุณลักษณะของการสื่อสาร1.1 การสื่อสารด้วยภาษาพูด ได้แก่ การพูด อธิบาย บรรยาย การร้องเพลง เป็นต้น1.2 การสื่อสารด้วยภาษาท่าทางหรือสัญญาณ เช่น กริยาท่าทาง การยิ้ม ภาษามือ เป็นต้น1.3 การสื่อสารด้วยภาษาภาพ เช่นโปสเตอร์ จดหมาย ลูกศร ตรา รูปภาพ เครื่องหมาย2. จำแนกตามปฏิสัมพันธ์ของผู้รับและผู้ส่ง2.1 การสื่อสารทางตรง ผู้ส่งและผู้รับสื่อสารซึ่งกันและกันโดยตรง เนื้อหาสาระสอดคล้องกันอย่างตรงไปตรงมา เช่น การแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าในตลาดสด2.2 การสื่อสารทางอ้อม เป็นการสื่อสารโดยอาศัยสื่อในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระ เช่น การโฆษณาทางโปสเตอร์3. จำแนกตามพฤติกรรมในการโต้ตอบ3.1 การสื่อสารทางเดียว ผู้ส่งกระทำฝ่ายเดียว ผู้รับไม่สามารถตอบสนองทันทีได้ เช่น การจัดรายการวิทยุ รายการโทรทัศน์3.2 การสื่อสารสองทาง ผู้ส่งและผู้รับมีการตอบโต้กันโดยอาจอยู่ในสถานที่เดียวกัน หรือถ้าห่างกันจะใช้เครื่องมือสื่อสารช่วยได้ เช่นโทรศัพท์ วิทยุมือถือ4. จำแนกตามจำนวนของผู้ร่วมสื่อสาร4.1 การสื่อสารในตนเอง เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับ เช่น การสำรวจความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง4.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นการสื่อสารระหว่างสองคน เช่นการสนทนา การสัมภาษณ์4.3 การสื่อสารแบบกลุ่มบุคคล เป็นการสื่อสารที่มีจำนวนผู้ส่งผู้ส่งและผู้รับมากกว่าการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การเรียนการสอนในห้องเรียน กลุ่มตำรวจช่วยกันสอบสวนผู้ต้องหา4.4 การสื่อสารมวลชน การสื่อสารเป็นกลุ่ม จำนวนมากมหาศาล ต้องใช้สื่อที่มีศักยภาพในการแพร่กระจายข่าวสารได้อย่างกว้างไกล เช่น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต โปสเตอร์อุปสรรคในการสื่อสาร1. ผู้ส่งสารขาดความสามารถและความตั้งใจในการเข้ารหัส ทำให้การสื่อสารผิดพลาด2. ความบกพร่องของสื่อหรือช่องทาง การเลือกสื่อที่ไม่เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ ทำให้ประสิทธิภาพของการสื่อสารลดลง3. ผู้รับสารขาดความรู้ความชำนาญในเนื้อหาสาระ4. อุปสรรคจากสิ่งรบกวน- สิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงที่ดังรบกวน อากาศร้อน แสงแดด กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์- สิ่งรบกวนภายใน เช่น อารมณ์ขุ่นมัว ความเครียด ความวิตกกังวล การมีอคติทั้งผู้ส่งและผู้รับ5. สารหรือเนื้อหาสาระมีความยาวไม่เหมาะสมหรือสั้นเกินไป เนื้อหาขัดกับความเชื่อเดิม6. ผู้ส่งและผู้รับมีความแตกต่างในด้านภาษา วัฒนธรรมและสังคมการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูง เกิดจากการสื่อสารโดยตรงแบบเผชิญหน้า เป็นการสื่อสารแบบสองทาง ผู้ส่งและผู้รับสามารถโต้ตอบกันได้ทันทีทันใด เนื้อหาสาระต้องเหมาะสมกับผู้รับการสื่อสารกับการรับรู้และเรียนรู้การรับรู้ เป็นกระบวนการตีความหรือแปลความต่อสิ่งเร้าที่ผ่านอวัยวะรับสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย จากนั้นส่งไปยังสมอง สมองเป็นคลังข้อมูลขนาดมหาศาล เมื่อสมองตีความได้ก็จะนำข้อมูลไปเก็บในคลังสมอง ทำให้เกิดความคิดรวบยอด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร เรียกว่า การเรียนรู้แบบจำลองของการสื่อสาร1. แบบจำลองของลาสเวลล์ใครพูดอะไรโดยช่องทางใดไปยังใครได้ผลอย่างไร2. แบบจำลองของแชนนอนและวีเวอร์ข้อมูลข่าวสาร สัญญาณ สัญญาณที่ได้รับ ข้อมูลข่าวสารแหล่งข้อมูลตัวถ่ายทอดช่องทางผู้รับจุดหมายปลายทางสิ่งรบกวน3. แบบจำลองของเบอร์โลเนื้อหาสาระผู้ส่ง/แหล่งกำเนิด เข้ารหัส ถอดรหัสสื่อ/ช่องทางผู้รับการมองเห็นการได้ยินการสัมผัสการดมกลิ่นการชิมรสทักษะเจตคติความรู้สังคม/วัฒนธรรมองค์ประกอบ โครงสร้างวิธีควบคุมเนื้อหา รหัสทักษะเจตคติความรู้สังคม/วัฒนธรรม4. แบบจำลองการสื่อสารของบาร์นลันด์4.1 แบบจำลองภายในบุคคล สื่อสารกับตัวเอง ประกอบด้วยบุคคล ตัวชี้นำหรือสิ่งเร้านอกตน ตัวชี้นำหรือสิ่งเร้าในตน การใส่รหัสและการถอดรหัสสิ่งเร้านอกตน และสิ่งเร้าในตน อาจมีผลทางบวกและทางลบหรือกลางๆ ต่อบุคคลที่สื่อสารภายในตน4.2 แบบจำลองการสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นแบบจำลองที่บุคคลสื่อสารระหว่างกัน มีองค์ประกอบเหมือนกับการสื่อสารภายในตน แต่มีบุคคลที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องการสื่อสารในการเรียนการสอน1. กระบวนการสื่อสารในการเรียนการสอนครูเนื้อหาบทเรียนช่องทางผู้รับสิ่งรบกวน2. ลักษณะการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียนเป็นการสื่อสารเพื่อให้เกิดความรู้ คือ เป็นการถ่ายทอดความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ตลอดจนการอบรมสั่งสอน อาจเป็นการสื่อสารแบบทางเดียวหรือสองทิศทางก็ได้ ควรมีการเน้นหรือทบทวนคำสั่งหรือข้อตกลง เพื่อให้เกิดความจำและความเข้าใจที่ถูกต้อง การสื่อสารควรมีลักษณะสร้างแรงบันดาลใจ เป็นกันเอง แสดงถึงความเอื้ออาทร และมีเจตคติที่ดีต่อกัน3. การปรับใช้การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพครูที่มีการสื่อสารที่ดีจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีความหมาย มีชีวิตชีวา มีเจตคติที่ดีต่อผู้สอนและบทเรียน เรียนรู้ได้อย่างเข้าใจครูผู้สอนควรใช้สื่อการสอนสองทางให้มากที่สุด เพื่อประเมินว่าการถ่ายทอดเนื้อหาสาระไปสู่ผู้เรียนได้ผลอย่างไร ครูและผู้เรียนสามารถปรับกระบวนการสื่อสารให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์4. ความล้มเหลวของการสื่อสารในกระบวนการเรียนการสอน- ครูไม่บอกจุดประสงค์ในการเรียนการสอนให้ผู้เรียนทราบก่อนลงมือสอน ทำให้ผู้เรียนขาดทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจนในการเรียนรู้เนื้อหาบทเรียนนั้นๆ- ครูไม่คำนึงถึงข้อจำกัดหรือขีดความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน จึงใช้วิธีสอนแบบเดียวกัน ทำให้ผู้เรียนบางคนเรียนรู้ไม่ทันเพื่อน- ครูไม่สนใจที่จะจัดบรรยากาศการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีความหมายสำหรับผู้เรียน ไม่สร้างความพร้อมให้กับผู้เรียน-ไม่หาวิธีป้องกันและขจัดปัญหาสิ่งรบกวนต่างๆ-ครูบางคนอาจใช้ภาษาไม่เหมาะกับระดับหรือวัยของผู้เรียน
บทที่ 4 สื่อการสอน
สื่อการสอน หมายถึง วัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการใดๆ ที่ครูนำมาประกอบการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพคุณค่าของสื่อการสอน.......1. คุณค่าด้านวิชาการ ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทำให้เรียนรู้ได้ดีกว่า เข้าใจความหมายสิ่งต่างๆได้กว้างขวางยิ่งขึ้น.......2. คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ สื่อเป็นศูนย์รวมความสนใจของผู้เรียน ทำให้การเรียนน่าสนใจมากขึ้น.......3. คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษา ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าเรียนได้เร็วและมากขึ้น ประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจเนื้อหาต่างๆประเภทของสื่อการสอน.......1.จำแนกตามคุณสมบัติของสื่อ1.1 วัสดุ เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา นิยมเรียก ซอฟต์แวร์ มีทั้งวัสดุชนิดถาวรและสิ้นเปลือง เช่น แผนภูมิ ภาพถ่าย โปสเตอร์ ภาพเขียน ภาพโปร่งใส เทปเสียง1.2 อุปกรณ์ เป็นสื่อใหญ่หรือสื่อหนัก นิยมเรียก ฮาร์ดแวร์ โดยทั่วไปประกอบด้วยเครื่องยนต์ กลไก ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ใช้เป็นตัวผ่านขยายสื่อเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ชัดเจนขึ้น เช่น เครื่องฉายสไลด์1.3 วิธีการ เทคนิค และกิจกรรม ครอบคลุมสื่ออื่นๆ ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนมากที่สุด เช่น การทดลอง การสาธิต บทบาทสมมุติ.......2. จำแนกตามแบบของสื่อ2.1 สิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือเรียน หนังสืออุเทศ หนังสืออ่านประกอบ นิตยสาร2.2 วัสดุกราฟิก แสดงด้วยข้อความและรูปภาพ เช่น แผนภูมิ แผนภาพ โปสเตอร์ การ์ตูน2.3 วัสดุเครื่องฉาย ได้แก่ เครื่องฉายภาพนิ่ง/เคลื่อนไหว เครื่องฉายภาพยนตร์ ฟิล์มภาพยนตร์2.4 วัสดุถ่ายทอดเสียง ได้แก่ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องบันทึกเสียง3. จำแนกตามประสบการณ์.......ขั้นที่ 1ประสบการณ์ตรง (เป็นรูปธรรมมากสุด).......ขั้นที่ 2 ประสบการณ์จำลอง.......ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการ เช่น การแสดงละคร บทบาทสมมุติ.......ขั้นที่ 4 การสาธิต.......ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่.......ขั้นที่ 6 นิทรรศการ.......ขั้นที่ 7 โทรทัศน์และภาพยนตร์.......ขั้นที่ 8 ภาพนิ่ง วิทยุและการบันทึกเสียง.......ขั้นที่ 9 ทัศนสัญลักษณ์.......ขั้นที่ 10 วจนสัญลักษณ์ เช่นคำอภิปราย คำบรรยาย โฆษณา (เป็นนามธรรมมากสุด)หลักการเลือกและใช้สื่อการสอน.......1. เลือก- เลือกใช้สื่อตามวัตถุประสงค์ของการเรียน- เลือกใช้สื่อตามระดับคุณค่าของสื่อ- เลือกใช้สื่อตามขนาดของกลุ่มผู้เรียน.......2. เตรียม- การเตรียมครู ได้แก่ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม บันทึกหัวข้อที่จะสอนตามลำดับ พิจารณาวัตถุประสงค์ของบทเรียน- การเตรียมผู้เรียน ได้แก่ จัดให้ผู้เรียนนั่งให้เหมาะสมกับการใช้สื่อแต่ละประเภท อธิบายให้ผู้เรียนทราบล่วงหน้าว่าจะมีกิจกรรมอะไร ควรสังเกตอะไร- การเตรียมชั้นเรียน ได้แก่ จัดโต๊ะเก้าอี้ของผู้เรียนเพียงพอ ให้ทุกคนสามารถมองเห็นได้ชัดเจน จัดที่ตั้งอุปกรณ์ เครื่องมือให้เป็นระเบียบ.......3. ขั้นการใช้หรือการแสดง การนำสื่อที่เลือกและเตรียมไว้ล่วงหน้ามาใช้ประกอบการสอน.......4. ขั้นติดตามผล เป็นการติดตามเพื่อประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของสื่อ
บทที่ 5 การสร้าสื่อประเภทวัสดุ
สื่อการสอนประเภทวัสดุ....เป็นสื่อที่มีขนาดเล็ก สามารถเก็บบรรจุความรู้และประสบการณ์ได้เป็นอย่างดีประเภทของสื่อวัสดุ1. สื่อวัสดุกราฟิก สื่อการเรียนที่มีองค์ประกอบสำคัญ คือ กราฟิก ได้แก่ ภาพเขียน ทั้งที่เป็นภาพสี ภาพขาวดำ ตัวหนังสือ เส้น และสัญลักษณ์2. คุณค่าของวัสดุกราฟิก เป็นสื่อวัสดุ 2 มิติ ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้ทางตา ราคาถูก ครูสามารถผลิตได้ด้วยตัวเอง สามารถบรรจุความรู้ไว้ในตัวเองและสื่อความหมายได้ทันที3. ประโยชน์ของวัสดุกราฟิก-ช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าใจเนื้อหาได้ตรงกัน-เรียนรู้ได้ดีกว่าการฟังอย่างเดียว-ประหยัดเวลา กระตุ้นความสนใจผู้เรียนได้ดีกว่า4. ลักษณะของวัสดุกราฟิกที่ดี-ตรงกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียน มีรูปแบบง่ายต่อการรับรู้-สื่อความหมายได้รวดเร็วและชัดเจน5. การออกแบบวัสดุกราฟิก-เหมาะกับลักษณะของผู้เรียน-ตรงตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียน6.ข้อดีและข้อจำกัดของวัสดุกราฟิกข้อดี-แสดงเนื้อหานามธรรมที่ยากต่อการเข้าใจให้เข้าใจง่ายขึ้น-สามารถผลิตได้ง่าย ต้นทุนการผลิตต่ำ-สะดวกรวดเร็วในการใช้งานข้อจำกัด-ใช้ได้กับกลุ่มเป้าหมายขนาดเล็กเท่านั้น-การออกแบบและการผลิตไม่ดี อาจทำให้ผู้เรียนเข้าใจยาก7. ประเภทวัสดุกราฟิก-แผนภูมิ-แผนสถิติ-แผนภาพ-ภาพพลิก-ภาพชุด-ภาพโฆษณา-แผ่นโปร่งใสสื่อวัสดุ 3 มิติ..วัสดุ 3 มิติ หมายถึง สื่อที่ผลิตจากวัสดุที่มีความกว้าง ความยาว ความหนาหรือลึก ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้หลายมุมมอง และการรับสัมผัสต่างๆ สามารถรับรู้ได้ตามความเป็นจริงประเภทของสื่อวัสดุ 3 มิติ1.หุ่นจำลองควรมีเทคนิคในการเลือกให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของเนื้อหา2.ของจริงควรมีลักษณะตรงกับวัตถุประสงค์ เนื้อหา และธรรมชาติของผู้เรียน3.ป้ายนิเทศ ชื่อเรื่องต้องมีลักษณะเป็นข้อความสั้นๆ ข้อความเนื้อหา คำเชิญชวน คำแนะนำน่าสนใจ4.ตู้อันตรทัศน์ สื่อ 3 มิติเลียนแบบธรรมชาติ กระตุ้นความสนใจ วัสดุประกอบฉากสอดคล้องเป็นเรื่องเดียวกันสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์..หมายถึง วัสดุที่ใช้กับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เทป บันทึกเสียง เทปวีดีทัศน์ แผ่นซีดีประเภทของสื่อวัสดุอิเล็กทรอนิกส์1.เทปบันทึกเสียง เป็นวัสดุที่ใช้บันทึกเสียงในรูปแบบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถลบและบันทึกได้อีก2.เทปวีดีทัศน์ บันทึกเสียงและภาพได้พร้อมกัน สามารถลบและบันทึกใหม่ได้3.แผ่นซีดี ใช้บันทึกภาพ เสียง ด้วยระบบดิจิตอลที่สลับซับซ้อน4.แผ่นวีซีดี บันทึกข้อมูล อ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ สามารถบันทึกข้อมูลที่เป้นภาพยนต์พร้อมเสียงสเตอริโอได้ถึง 1.44 ล้านบิตต่อวินาที5.แผ่นดีวีดี มีความคมชัดเทียบเท่าหรือดีกว่าแผ่นเลเซอร์วีดีโอดิสก์6.แผ่นเอสวีซีดี มีความคมชัดภาพ 576*480 จุดและเสียงสเตอริโอ7. แผ่นเอ็กซ์วีซีดี เป็นการผสมคุณลักษณะระหว่างวีซีดีรุ่น 2.0 และดีวีดี โดยที่แผ่นเอ็กซ์วีซีดีจะมีอัตราการเสนอภาพ 3.5 ล้านบิตต่อวินาที เร็วกว่าวีซีดีธรรมดา แต่ไม่สามารถใช้เสียงหลายช่องทางหรือมีข้อความบรรยายได้8.แผ่นเอ็กซ์เอสวีซีดี มีอัตราการเสนอภาพเร็วถึง 9.8 ล้านบิตต่อวินาที มีความคมชัดมากกว่าด้วย สามารถใช้เสียงหลายช่องทางและมีข้อความบรรยายได้
บทที่ 6 สื่อการสอรประเภทอุปกรณ์
เครื่องฉาย...เป็นอุปกรณ์ฉายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ผู้เรียนมองเห็นภาพหรือเนื้อหาได้ชัดเจนขึ้น กระตุ้นความสนใจได้ดีส่วนประกอบของเครื่องฉาย1.หลอดฉาย เป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ส่องผ่านวัสดุฉายและเลนส์ ให้ภาพไปปรากฏบนจอ2.แผ่นสะท้อนแสง ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากด้านหลังของหลอกฉายไปรวมกับแสงด้านหน้า ทำให้ความเข้มข้นของแสงเพิ่มขึ้นเป็นเกือบสองเท่า3.วัสดุฉาย เป็นวัสดุรองรับเนื้อหาความรู้ไว้ในรูปของรูปภาพ ตัวอักษร และสัญลักษณ์ วัสดุฉายต้องใช้ควบคู่กับเครื่องฉายเสมอ เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นได้ชัดเจน4.เลนส์ เป็นวัสดุโปร่งใสที่มีอยู่ในเครื่องฉายทั่วไป ทำด้วยแก้วหรือพลาสติกใส มีคุณสมบัติหักเหแสงที่สะท้อนมากระทบกับเลนส์ ทำให้ภาพถูกขยายเลนส์5.จอ เป็นอุปกรณ์รองรับภาพจากเครื่องฉายชนิดต่างๆประเภทของเครื่องฉาย1.เครื่องฉายข้ามศีรษะ-เครื่องฉายข้ามศีรษะแบบทั่วๆไป-เครื่องฉายข้ามศีรษะแบบสะท้อนจากกระจกเงาด้านล่าง-เครื่องฉายข้ามศีรษะแบบพับเก็บได้2.เครื่องฉายสไลด์-เครื่องฉายสไลด์แบบธรรมดา ควบคุมโดยผู้ใช้งานตลอกเวลา-เครื่องฉายสไลด์แบบอัตโนมัติ3.เครื่องฉายแอลซีดี มีประสิทธิภาพในการแสดงผลที่ใช้พลังงานน้อย4.เครื่องดีแอลพี มีความคมชดสูงกว่าแอลซีดีเครื่องอุปกรณ์แปลงสัณญาณเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่ในการอ่านข้อมูลจากวัสดุและแปลงสัณญาณไฟฟ้าเพื่อแปลงกลับเป็นสัณญาณและเสียงประเภทของเครื่องอุปกรณ์แปลงสัณญาณ1.เครื่องวิชวลเลเซอร์ ฉายทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว2.เครื่องเล่นวีดีทัศน์ แปลงสัณญาณแม่เหล็กจากแถบเทปเป็นสัณญาณภาพและเสียง3.เครื่องเล่นวีซีดี4.เครื่องเล่นดีวีดีเครื่องเสียง1.แหล่งกำเนิดเสียงเสียง sound...เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ พลังงานการสั่นสะเทือนจะจัดอากาศให้เป็นคลื่นออกไปโดยรอบ เรียกว่า คลื่นเสียง เมื่อคลื่นเสียงไปกระทบแก้วหู จะทำให้แก้วหูสั่นสะเทือนราบงานผ่านไปยังสมองทำให้ได้ยินเสียงแหล่งกำเนิดเสียง เช่น เสียงคน สัตว์ การสั่นสะเทือนของวัตถุเมื่อถูกดีด สี ตี เป่า เคาะ เสียงจากธรรมชาติ เช่น ฝนตก น้ำไหล ฟ้าร้อง ลมพัด2.ส่วนประกอบของการขยายเสียง...ภาคสัญญาณเข้า ทำหน้าที่สร้างหรือนำสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงที่ต้องการขยายมาป้อนกับภาคขยายเสียง ได้แก่ ไมโครโฟนภาคขยายเสียง ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงให้มีกำลังมากขึ้นเพื่อส่งออกไปขับลำโพงให้เกิดเสียงดังขึ้น ได้แก่ เครื่องขยายเสียงภาคสัญญาณออก เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงที่ถูกขยายมาแล้วให้กลับเป็นคลื่นเสียง ได้แก่ ลำโพง3.ไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า4.เครื่องขยายเสียง เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้าความถี่เสียงให้มีกำลังมากขึ้น เพื่อส่งออกไปขับลำโพงให้เปล่งเสียงออกมา5.ลำโพง เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เสียงขยายขึ้น
บทที่ 7 สื่อการสอนประเภทกิจกรรม
สื่อการสอนประเภทกิจกรรม...เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อให้มีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆด้วยตนเองคุณค่าของสื่อกิจกรรม1.ส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าแสดงออกและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้2.ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินลักษณะสื่อการสอนประเภทกิจกรรมที่ดี1.เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดขอบข่าย เนื้อหา และวัตถุประสงค์2.กิจกรรมต้องตรงกับเนื้อหาและจุดมุ่งหมายของบทเรียนที่กำหนดไว้3.ผู้เรียนได้ฝึกฝน พฤติกรรมการเรียนรู้ทั้งทางด้านความรู้ เจตคติ และทักษะผสมผสานประเภทของสื่อประเภทกิจกรรม1.การสาธิต กระบวนการที่ผู้สอนช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ โดยการแสดง หรือกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง2.การจัดนิทรรศการ การนำเอาทัศนวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน เช่น แผนภาพ รูปภาพ กราฟ วัสดุ 3 มิติ ของจริงและตัวอย่าง มาแสดงเพื่อเป็นการสื่อสารทางความคิดและความรู้ให้กับบุคคลระดับต่างๆ3.ประสบการณ์นาฏการ ประสบการที่ใช้แทนประสบการณ์จริง เป็นการแสดงต่างๆ ที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ชมเข้าใจเนื้อหาเรื่องราวจากลีลา ท่าทาง บทบาทภาษาพูดของผู้แสดง4.การใช้ชุมชนเพื่อการศึกษา การใช้หลักวิชาการและสภาพแวดล้อมของชุมชนให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ เพื่อขยายประสบการณ์ของผู้เรียนให้กว้างขวาง ใกล้ชิดสภาพความเป็นจริง5.สถานการณ์จำลอง เป็นการจัดสภาพแวดล้อมเลียนแบบความจริงให้ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกฝน แก้ปัญหาและตัดสินใจจากสภาพการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่นั้นแล้วนำประสบการณ์แห่งความสำเร็จไปเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา6.การศึกษานอกสถานที่ กิจกรรมที่พาผู้เรียนออกไปหาประสบการณ์นอกห้องเรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้7.กระบวนการกลุ่ม เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับความรู้จากการลงมือร่วมกันปฏิบัติเป็นกลุ่ม หลักการเรียนรู้ที่สำคัญของกระบวนการกลุ่ม คือ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยการเข้ากลุ่มกับสมาชิก มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมกันวิเคราะห์สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น
บทที่ 8 นวัฒกรรมการศึกษา
........บทเรียนโปรแกรมการลำดับประสบการณ์ที่จัดวางไว้สำหรับนำผู้เรียนไปสู่ความสามารถโดยอาศัยหลักความสัมพันธ์ของสิ่งเร้ากับการตอบสนองพื้นฐานทางจิตวิทยาของบทเรียนโปรแกรม เป็นทฤษฎีแนวพฤติกรรมนิยม ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองและการเสริมแรง อาจเป็นไปได้ทั้งพฤติกรรมทางสมอง กล้ามเนื้อ และความรู้สึกการเสริมแรงเป็นการกระทำให้การตอบสนองของผู้เรียนมีความหมาย และเป็นไปตามที่ผู้สอนปรารถนาทุกครั้ง........ลักษณะของบทเรียนโปรแกรม1. การแบ่งขั้นการเรียนรู้เป็นหน่วยย่อยๆ และเรียงลำดับจากง่ายไปสู่ยาก2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างกระฉับกระเฉง3. ให้ผู้เรียนได้ทราบผลการเรียนของตนอย่างทันทีทันใด4. ให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนเป็นระยะๆ........ประเภทของบทเรียนโปรแกรม1. แบบเส้นตรง ให้ผู้เรียนทุกคนเรียนผ่านกรอบของบทเรียนทุกกรอบ ตั้งแต่กรอบที่ 1 ไปจนถึงกรอบสุดท้าย2. แบบสาขา- กรอบยืนหรือกรอบหลัก ทุกคนต้องเรียนผ่าน- บทเรียนโปรแกรมแบบสาขา เหมาะสำหรับการใช้สอนในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา การวิเคราะห์........ข้อดีและข้อจำกัดของบทเรียนโปรแกรมข้อดี ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนด้วยตนเอง สามารถแก้ไขความเข้าใจผิดได้ทันทีถ้าตอบผิด ถ้าตอบถูกก็มีการเสริมแรงให้เกิดกำลังใจ สนรองความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ดีข้อจำกัด ไม่เหมาะสมสำหรับการสอนเนื้อหาวิชาที่ต้องการคำตอบในแง่ความคิดชุดการสอนคือ ชุดของสื่อหลายๆชนิดหรือที่เรียกว่าสื่อประสมที่จัดไว้เป็นกล่องหรือซองตามลักษณะของเนื้อหาวิชา เพื่อรวบรวมเอกสารและประสบการณ์ต่างๆสำหรับช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ........ทฤษฎีที่ทำให้เกิดชุดการสอน1. การใช้สื่อประสม2. การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์3. การใช้จิตวิทยาการเรียนรู้มาจัดสภาพในการเรียน........ประเภทของชุดการสอน1. ชุดการสอนประกอบคำบรรยาย2. ชุดการสอนแบบกลุ่มเล็กและชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน3. ชุดการสอนรายบุคคล........องค์ประกอบของชุดการสอน1. คำชี้แจง2. จุดมุ่งหมาย3. การประเมินผลเบื้องต้น4. รายการเนื้อหาวิชาและสิ่งที่เกี่ยวข้องอื่นๆ5. การกำหนดกิจกรรม6. การประเมินผลขั้นสุดท้าย........ประโยชน์ของชุดการสอน1. เร้าความสนใจของผู้เรียน2. การเรียนรู้เป็นอิสระจากอารมณ์ของครู3. ขจัดปัญหาในการขาดแคลนครู สนับสนุนการศึกษานอกโรงเรียน4. แก้ปัญหาความแตกต่างๆระหว่างบุคคล5. ผู้เรียนสามารถรับทราบผลความก้าวหน้าของตนเอง6. ให้ความสะดวกและสร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้แก่ครูศูนย์การเรียนคือ การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนโดยมุ่งให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจากโปรแกรมการเรียน ซึ่งจัดไว้ในรูปชุดการเรียนการสอนรายกลุ่มหรือรายบุคคล........แนวคิดในการจัดศูนย์การเรียน1. การให้ผู้เรียนลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเอง2. ให้รับทราบผลการกระทำในทันที3. ให้มีโอกาสเกิดความภาคภูมิใจ4. ให้เรียนไปทีละน้อยตามลำดับขั้น........ประเภทศูนย์การเรียน1. ศูนย์การเรียนในห้องเรียน2. ศูนย์การเรียนเอกทัศ- ศูนย์การเรียนสำหรับครู เป็นห้องปฏิบัติการวิธีสอน- ศูนย์วิชาการ สำหรับนักเรียน เพื่อให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง- ศูนย์การเรียนชุมชน เป็นสถานศึกษาที่เปิดโอกาสให้บุคคลทุกเพศทุกวัยเข้ามาศึกษาในเรื่องที่สนใจการสอนแบบศูนย์การเรียนเป็นการจัดสภาพห้องเรียนรูปแบบใหม่ ที่เน้นให้ผู้เรียนประกอบกิจกรรมในการเรียนด้วยตนเองตามโปรแกรมการสอนที่จัดไว้ในศูนย์กิจกรรมต่างๆ........ขั้นตอนการเรียนในศูนย์การเรียน1. ทดสอบก่อนเรียน2. นำเข้าสู่บทเรียน3. ดำเนินกิจกรรมการเรียนโดยแบ่งกลุ่มผู้เรียน4. สรุปบทเรียน5. ประเมินผลการเรียน........ประโยชน์ของศูนย์การเรียน1. สร้างบรรยากาศในการเรียน เพิ่มความสนใจของผู้เรียน2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง3. ช่วยสร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพในการแสดงความคิด4. ส่งเสริมการทำงานเป็นหมู่คณะการสอนแบบจุลภาคคือ การสอนในสถานการณ์จำลองห้องเรียนง่ายๆ เป็นการอสนมุ่งฝึกทักษะเฉพาะในการสอน........หลักเกี่ยวกับการสอนแบบจุลภาค1. การเสริมแรง2. การรับรู้ผลย้อนกลับ3. การฝึกซ้ำหลายๆครั้ง4. การถ่ายโยงการเรียน.......ทักษะการสอนแบบจุลภาค1. ทักษะสำหรับครูเป็นศูนย์กลาง2. ทักษะผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง........ขั้นตอนการสอนแบบจุลภาค1. ขั้นศึกษาทักษะที่ต้องการฝึก2. ขั้นเลือกเนื้อหาและวางแผนการสอน3. ขั้นสอน4. ขั้นวิเคราะห์ผลการสอน5. ขั้นตัดสินใจ6. ขั้นจบกระบวนการสอนข้อดีและข้อจำกัดการสอนแบบจุลภาคข้อดี ใช้ในการทดลองสอนและปรับปรุงวิธีสอน ใช้ทดลองสอนเพื่อปรับปรุงเนื้อหาในหลักสูตร ใช้ฝึกทักษะและสมรรถภาพในการสอนให้กับครู เปิดโอกาสให้ผู้สอนทดลองสอนจนพอใจข้อจำกัด ผู้ฝึกไม่ได้พบสภาพห้องเรียนจริง การสอนแบบจุลภาคใช้ประกอบการสอนแต่ไม่ใช้แทนการฝึกสอนการสอนเป็นคณะเป็นวิธีดำเนินการสอนแบบที่เน้นการใช้บุคลากรให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น โดยจัดให้ครูร่วมกันวางแผนจัดการเรียนการสอน ประเมินผล และรับผิดชอบเด็กกลุ่มเดียวกัน........วัตถุประสงค์ของการสอนเป็นคณะ1. ปรับปรุงประสิทธิภาพของการสอน2. ส่งเสริมการดำเนินชีวิตแบบประชาธิปไตย3. มีเวลาให้ผู้เรียนมาก4. แก้ปัญหาจำนวนนักเรียนในห้องเรียน5. ส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ6. แก้ปัญหาความไม่ยุติธรรม........รูปแบบการสอนเป็นคณะ1. แบบมีผู้นำ2. แบบไม่มีผู้นำ3. แบบครูพี่เลี้ยง........วิธีดำเนินการสอนเป็นคณะ1. การสอนเป็นกลุ่มใหญ่2. ความคิดรวบยอด3. การสอนเป็นกลุ่มเล็ก4. การค้นคว้าด้วยตน เองข้อดีและข้อจำกัดของการสอนเป็นคณะข้อดี ครูมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านวิชาการ ครูใช้ความถนัดและความสามารถของตนได้อย่างเต็มที่ ทำให้ครูใหม่ได้มีโอกาสได้ฝึกงานให้เกิดความชำนาญ ผู้เรียนมีประสบการณ์กว้างขวางข้อจำกัด ต้องเสียเวลาในการเตรียมงานมาก ความสำเร็จของการสอนขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบและความร่วมมือของครู........การสอนทางไกลหมายถึง ระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกันแต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้โดยอาศัยสื่อการสอนในลักษณะสื่อประสม เช่น ตำราเรียน เทปบันทึกเสียง
บทที่ 9 คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
.......คอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพและศักยภาพสูงในการคำนวณ และประมวลผล สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ.......ระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์1. การป้อนข้อมูล การพิมพ์ การพูด โดยผ่านอุปกรณ์ที่สำคัญ เช่น เมาส์ คีบอร์ด สแกนเนอร์ ซีดี2. การประมวลผล คำนวณและประมวลผลข้อมูล หรือเรียกว่า CPU3. การแสดงผล แสดงผลการทำงานของ CPU อาจเป็นรูปภาพ ตัวอักษร เสียง ทางจอภาพ เครื่องพิมพ์การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษา1. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อการสอนโดยตรง เช่น การฉายเนื้อหาประกอบการบรรยาย คอมพิวเตอร์สามารถทำหน้าที่แทนสื่อต่างๆ เช่น แผ่นใส ภาพนิ่ง2. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน เช่น การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์มากที่เป็นเอกสารหนังสือ วารสาร โปสเตอร์ ชุดไมโครซอร์ฟออฟฟิต3. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือการค้นคว้าเพื่อการเรียนรู้ทั่วไป4. การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อการเรียนรู้รูปแบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้คอมพิวเตอรืช่วยสอน คือ สื่อการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน..........ลักษณะสื่อประสมคุณค่าของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน- คิดอย่างมีเหตุผลคือการเรียนการสอนจะเป็นในแง่ฝึกหัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เอง- รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง- ตัดสินใจได้ด้วยตนเอง- ยอมรับและนับถือตนเอง- รู้จักรับผิดชอบตนเอง- มีพฤติกรรมซื่อสัตย์ต่อตน..........คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน1. สารสนเทศ คือ เนื้อหาสาระที่ได้รับการวิเคราะห์ เรียบเรียงเป็นระบบอย่างดี ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่ผู้สร้างหรือออกแบบบทเรียนกำหนดไว้2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนแต่ละคนมีความถนัดในการเรียนรู้ต่างกัน การศึกษาบทเรียนรายบุคคลทำใก้ผู้เรียนเลือกเรียนได้ตามความสะดวก3. การโต้ตอบ ระหว่างผู้เรียนกับบทเรียนออกแบบให้มีการตอบโต้ในบทเรียนจะมีผลดี ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจในการตอบโต้ในทันที.........ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน1. บทเรียน เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาในลักษณะของบทเรียน โปรแกรมที่เสนอเนื้อหาเป็นส่วนย่อยๆ เป็นการเรียนแบบการสอนของครู2. ฝึกทักษะและปฏิบัติ3. จำลองแบบ4. เกมทางการศึกษา5. การสาธิต6. การทดลอง7. การไต่ถาม8. การแก้ปัญหา9. แบบรวมวิธีต่างๆเข้าด้วยกันข้อดีและข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนข้อดี ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ดี ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความถนัดของตนข้อจำกัด อาศัยอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นสำคัญ ทำให้ไม่สะดวก มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณอินเตอร์เน็ตคือ เครือข่ายข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงติดต่อกันทั่วโลก ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติการ1. มาตรฐานการสื่อสาร LAN,MAN,WAN ใช้ชื่อว่า TCP/IPTCP ทำหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบความถูกต้องในการรับส่งข้อมูลIP กำหนดที่อยู่หรือแอดเดรสของคอมพิวเตอร์2. การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต- การเชื่อมต่อโดยตรง จะต้องมีคอมพิวเตอร์เครือข่ายเชื่อมต่อกับโครงข่ายหลักหรือแบ็กโบน โดยต้องมีเราเตอร์ในการเชื่อมต่อ เพื่อขอชื่อโดเมนแล้วติดตั้งเกตเวย์เป็นแบ็กโบน- การเชื่อมต่อผ่านผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต ใช้สายโทรศัพท์ต่อเข้ากับโมเด็ม3. ประเภทของอินเตอร์เน็ต- อินทราเน็ต สื่อสารเฉพาะในองค์การเท่านั้น- เอ็กทราเน็ต เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ภายนอกระหว่างองค์การกับองค์กับองค์การหรือบุคคล4. อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา- การค้นคว้า- การเรียนและติดต่อสื่อสาร- การศึกษาทางไกล- การเรียนการสอนอินเตอร์เน็ต- การประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ต5. การค้นคว้าความรู้ทางอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ตเนื่องมาจากอินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ ที่มีข้อมูลทุกประเภทเก็บอยู่อย่างมากมาย มีการสร้างเว็บไซต์ไว้บนอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก อินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารที่มีเครื่องอำนวยความสะดวกในการค้นคว้าหาข้อมูลที่เราต้องการได้การเรียนรู้ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ครอบคลุมการเรียนรู้ขจากสื่อทุกชนิด ที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์เป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการบันทึก การจัดระบบ การเผยแพร่เพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน.........ลักษณะสำคัญของ อี-เลิร์นนิ่ง1. การนำเสนอสาระสนเทศในรูปของสื่อประสม เนื้อหาสาระที่นำเสนอให้ผู้เรียนควรมีลักษณะหลากหลายแบบประกอบกัน2. การขยายโอกาสเกี่ยวกับผู้เรียน สถานที่เรียน เวลาในการเรียน3. การยืดหยุ่นในการเรียนรู้ การเรียนรู้เนื้อหาบทเรียนไม่จำเป็นต้องเรียนตามลำดับขั้น ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนหัวข้อใดก่อน/หลัง ได้ตามความสนใจ4. การโต้ตอบหรือการมีปฆิสัมพันธ์ บทเรียนต้องได้รับการออกแบบให้ผู้เรียนมีชีวิตชีวาจากการนำเสนอสาระสนเทศในลักษณะสื่อประสม และการโต้ตอบกับบทเรียน โดยการตอบคำถามในแบบฝึกหัดและตรวจคำตอบได้ด้วยตนเอง5. การป้อนผลย้อนกลับ ผู้เรียนต้องได้รับผลการเรียนรู้ทันทีทันใด เมื่อกระบวนการเรียนแต่ละตอนสิ้นสุดลง
บทที่ 10 การผลิตงานกราฟิก
.......วัสดุที่ใช้ในการผลิตงานกราฟิก1. กระดาษ- กระดาษโปสเตอร์ เป็นกระดาษพื้นสีที่มีเยื่อกระดาษไม่เหนียวมากเท่าที่ควร- กระดาษหน้าขาวหลังเทา เหมาะกับการทำบัตรคำ แผนภูมิ แผนภาพ พื้นภาพผนึกกล่องที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก- กระดาษวาดเขียน เป็นกระดาษที่มีความหนาหลายขนาด เช่น 30 ปอนด์ 100 ปอนด์ เยื่อกระดาษไม่แน่นทำให้ดูดซับน้ำได้ดี- กระดาษชาร์ทสี เป็นกระดาษที่มีผิวมันเรียบ เยื่อกระดาษแน่นเหนียวกว่ากระดาษโปสเตอร์และกระดาษวาดเขียน- กระดาษอาร์ตมัน เป็นกระดาษที่มีผิวมัน เยื่อแน่นเหนียว ไม่ค่อยดูดซับน้ำ พื้นสีขาว ความหนามีหลายขนาด- กระดาษปอนด์ เป็นกระดาษชนิดบาง ไม่แน่น มีสีขาว- กระดาษลูกฟูก เป็นกระดาษที่มีลักษณะหนามาก โครงสร้างตรงกลางเป็นลูกฟูกประกบด้านหน้าและหลังด้วยกระดาษผิวเรียบ2. สี- สีเชื้อน้ำ เป็นสีที่ใช้น้ำเป็นส่วนผสมและล้างทำความสะอาด- สีน้ำ ใช้ระบายภาพบนกระดาษสีขาวหรือกระดาษวาดเขียน